วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บรรณารักษ์คืออะไร?

       

          บรรณารักษ์ (อังกฤษ: librarian) คือ บุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพในการจัดการข้อมูลในด้านบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ โดยส่วนใหญ่แล้วบรรณารักษ์มักจะทำงานในห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งห้องสมุดในบริษัทต่างๆ รวมไปถึงโรงพยาบาล บรรณารักษ์มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่มาใช้บริการทราบข้อเท็จจริง จัดหาสารสนเทศและค้นทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ทั้งหนังสือ วารสาร เว็บไซต์และสารสนเทศอื่น พิจารณาหนังสือ นิตยสาร ภาพยนตร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยการจัดซื้อ จัดการหนังสือและทรัพยากรอื่น ที่ผู้ใช้ต้องการ



บทบาทหน้าที่ของบรรณารักษ์
 1. Public service librarians
บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืน ให้บริการโดยทั่วๆ ไปของห้องสมุด

2. Reference or research librarians

บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่างๆรวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรมให้ กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจสรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล

3. Technical service librarians

บรรณารักษ์ ที่ให้บริการด้านเทคนิคเนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิดอย่าง เดียวเช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) หรือให้หัวเรื่องหนังสือเล่มต่างๆนอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วย สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านงานเทคนิค

4. Collections development librarians

บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหามีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุด บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรู้จักหนังสือใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจากที่อื่นด้วย สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่นำหนังสือเข้าห้องสมุด

5. Archivists

นักจดหมายเหตุ เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่ และเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของท้องถิ่นนั้นๆ หรือชุมชนนั้นๆ เป็นหลัก สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่

6. Systems Librarians

บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ บรรณารักษ์กลุ่มนี้มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิก บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ไอที

7. Electronic Resources Librarians

บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับบรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ แต่จะยุ่งกับเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรม สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล

8. School Librarians, Teacher

บรรณารักษ์ด้านการศึกษา อันนี้แบ่งได้เยอะแยะเช่น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯ สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ


บทบาทของห้องสมุด



          ห้องสมุด มีบทบาทต่อบุคคลต่างๆ มากมาย ซึ่งห้องสมุด สามารถทำประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ ด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่ นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเอง โดยห้องสมุดมีบทบาท ในการเสริมความรู้ และสนันสนุนการศึกษาในระบบ และให้โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้ใช้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาอาชีพให้ทันกับวิทยาการ และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ที่ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว ด้านวัฒนธรรม ห้องสมุดเป็นที่บำรุงรักษาวัฒนธรรมของชาติ ให้สืบทอดไปยังอนุชนรุ่นต่อไป เนื่องจากห้องสมุด เป็นแหล่งที่จัดเก็บข้อมูลทางด้านสารนิเทศ ซึ่งส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และสามารถใช้บ่งบอกความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั้นๆ อีกด้วย 
 
ที่มา http://anniiz.freeoda.com/index2.html

มุมหนังสือที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ให้บริการ

มุมบริการยืม-คืน

เป็นมุมที่ให้บริการยืม –คืนหนังสือและสื่อต่างๆ ด้วยโปรแกรม Smart Library



มุมหนังสือทั่วไป (หมวด 000 - 900)

เป็นมุมที่มีหนังสือสารคดี หนังสือความรู้ทั่วไปให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า โดยจัดตามระบบทศนิยมของ ดิวอี้


มุมวารสาร นิตยสารและหนังสือพิมพ์

เป็นมุมที่ให้บริการการอ่านวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์รายวัน




มุมหนังสือนวนิยาย เรื่องสั้น

เป็นมุมที่ให้บริการหนังสือประเภทบันเทิงคดี อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น แฮรี่พ็อตเตอร์ เขมรินทร์-   อินทิรา ลินลาน่ารัก รวมเรื่องสั้นต่างๆ ฯลฯ


  ห้องหนังสืออ้างอิง

เป็นห้องที่จัดเก็บและใช้ศึกษาค้นคว้าหนังสืออ้างอิงประเภทต่างๆ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม รวมทั้งหนังสือดีมีคุณค่าทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ไม่อนุญาตให้ยืมออกจากห้องสมุด แต่ถ้าต้องการข้อมูลให้นำไปถ่ายเอกสารได้




 
ห้องอินเทอร์เน็ต

     ให้บริการคอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต


ห้องศึกษาค้นคว้าสำหรับครู

เป็นห้องที่ให้บริการหนังสือเกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับครูได้ศึกษาค้นคว้า เช่น คู่มือหลักสูตร หลักวิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมิน ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น